วันจันทร์ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

การพัฒนาสุขภาพของตนเองและครอบครัว

การพัฒนาสุขภาพของตนเองและครอบครัว
1. แนวคิดในการวางแผนพัฒนาสุขภาพของตนเองและครอบครัว
2. วิธีการวางแผนสุขภาพของตนเองและครอบครัว
3. กระบวนการสุขภาพของตนเองและครอบครัว
การพัฒนาสุขภาพของตนเองและครอบครัว
จุดประกายความคิด
สุขภาพดีเริ่มต้นที่ครอบครัว
นักเรียนมีความคิดเห็นอย่างไรกับข้อความนี้?
                ปัญหาโรคต่างๆ ในสังคม แม้จะมีวิธีรักษาและวัคซีนป้องกันโรคบ้างชนิด แต่สิ่งสำคัญที่จะทำให้มีสุขภาพดีอย่างยั่งยืนคือ การพัฒนาสุขภาพของตนเอง สุขภาพของคนในครอบครัว และสุขภาพในสังคม ชุมชน โดยมีการวางแผนและวางแนวคิดที่ถูกต้อง
ตารางปริมาณแคลอรี่ในอาหาร
แนวทางในการวางแผนพัฒนาสุขภาพของตนเองและครอบครัว
การพัฒนาสุขภาพของประชาชน มีแนวคิด 3 ประการ คือ1. การพัฒนาสุขภาพตนเอง
2. การพัฒนาสุขภาพขอคนในครอบคัว
3. การพัฒนาสุขภาพในชุมชน
                การวางแผนพัฒนาสุขภาพในภาพรวมทั้ง 3 แนวคิดจะเป็นไปในลักษณะที่ต้องมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกัน เพราะถ้าสุขภาพส่วนบุคคลไม่ดีแล้วจะส่งผมกระทบต่อสุขภาพของบุคคลในครอบครัว และเนื่องจากครอบครัวเป็นส่วนหนึ่งของชุมชน ถ้าในครอบครัวหลายๆครอบครัวไม่เข้มแข็ง อ่อนแอด้านสุขภาพ ก็จะทำให้ภาพรวมของสังคมอ่อนแอไปด้วย ดังนั้นการพัฒนาด้านสุขภาพจึงรวมกันเป็นห่วงโซ่ที่ต้องพัฒนาเป็นองค์รวมเชื่อมโยงกันไป
                การพัฒนาสุขภาพส่วนบุคคลหรือของตนเองจะเป็นการพัฒนาเฉพาะด้าน เฉพาะบุคคล ซึ่งมีลักษณะแตกต่างกันไปตามวัย โดยเฉพาะการพัฒนาและดูแลอาใจใส่เลี้ยงดูจากพ่อแม่ จะเป็นรากฐานที่ดีต่อชีวิตต่อไป เช่น การได้รับภูมิคุ้มกันโรคอย่างครบถ้วนเป็นระยะ การสร้างเสริมความแข็งแรงของร่างกายโดยได้รับการกระตุ้น การรับวัคซีนป้องกันโรคหรือวัคซีนที่จำเป็นเฉพาะโรค เช่น วัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก วัคซีนป้องกันหัดเยอรมัน เมื่อได้รับการพัฒนาสุขภาพด้านร่างายมาอย่างดี พร้อมกับได้รับการเลี้ยงดูเอาใจใส่ ได้รับความรักความอบอุ่นทางจิตใจอย่างเพียงพอ จะทำให้บุคคลนั้นสุขภาพจิตดีไปด้วย
                การพัฒนาสุขภาพในวัยผู้ใหญ่ ส่วนมากจะเป็นไปในลักษณะการดูแลตนเอง เพราะผู้ใหญ่จะรู้ความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับตนเอง บอกอาการที่ผิดปกติที่เกิดขึ้นกับตนเองได้ สุขภาพที่ไม่ดีในวัยผู้ใหญ่นั้น มักเกิดจากพฤติกรรมของตนเองเป็นส่วนมาก เช่น พฤติกรรมการรับประทานอาหารไม่ตรงเวลา ไม่รับประทานอาหารบางมื้อ เลือกรับประทานอาหารเฉพาะสิ่งที่ชอบ หรือไม่รับประทานอาหารแต่รับประทานอาหารเสริม หรืออาหารสำเร็จรูปที่เป็นแคปซูลแทนเพื่อนรักษารูปร่าง ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ไม่ถูกต้อง ก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพเรื้อรัง
                การดูแลสุขภาพในวัยชราหรือผู้สูงอายุ ในวัยนี้การทำงานของอวัยวะต่างๆในร่างกายเสื่อมโทรมลงแต่ถ้าการดูแลสุขภาพดีในวัยเด็กและวัยผู้ใหญ่ การเสื่อมโทรมของอวัยวะในร่างกายก็จะเปลี่ยนแปลงไปอย่างช้าๆและไม่ค่อยเจ็บป่วย อย่างไรก็ตามการเสื่อมโทรมของร่างกายและสมองย่อมเป็นไปตามวัย การดูแลสุขภาพขอองบุคคลในช่วงนี้จึงต้องได้รับความช่วยเหลือดูแลจากคนในครอบครัว
                การพัฒนาสุขภาพของบุคคลในครอบครัว ต้องมาจากพื้นฐานการดูแลสุขภาพที่ดีตั้งแต่วัยเด็ก วัยผู้ใหญ่ และวัยชราต่อเนื่องกัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น