วันจันทร์ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

การพัฒนาสุขภาพของตนเองและครอบครัว

การพัฒนาสุขภาพของตนเองและครอบครัว
1. แนวคิดในการวางแผนพัฒนาสุขภาพของตนเองและครอบครัว
2. วิธีการวางแผนสุขภาพของตนเองและครอบครัว
3. กระบวนการสุขภาพของตนเองและครอบครัว
การพัฒนาสุขภาพของตนเองและครอบครัว
จุดประกายความคิด
สุขภาพดีเริ่มต้นที่ครอบครัว
นักเรียนมีความคิดเห็นอย่างไรกับข้อความนี้?
                ปัญหาโรคต่างๆ ในสังคม แม้จะมีวิธีรักษาและวัคซีนป้องกันโรคบ้างชนิด แต่สิ่งสำคัญที่จะทำให้มีสุขภาพดีอย่างยั่งยืนคือ การพัฒนาสุขภาพของตนเอง สุขภาพของคนในครอบครัว และสุขภาพในสังคม ชุมชน โดยมีการวางแผนและวางแนวคิดที่ถูกต้อง
ตารางปริมาณแคลอรี่ในอาหาร
แนวทางในการวางแผนพัฒนาสุขภาพของตนเองและครอบครัว
การพัฒนาสุขภาพของประชาชน มีแนวคิด 3 ประการ คือ1. การพัฒนาสุขภาพตนเอง
2. การพัฒนาสุขภาพขอคนในครอบคัว
3. การพัฒนาสุขภาพในชุมชน
                การวางแผนพัฒนาสุขภาพในภาพรวมทั้ง 3 แนวคิดจะเป็นไปในลักษณะที่ต้องมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกัน เพราะถ้าสุขภาพส่วนบุคคลไม่ดีแล้วจะส่งผมกระทบต่อสุขภาพของบุคคลในครอบครัว และเนื่องจากครอบครัวเป็นส่วนหนึ่งของชุมชน ถ้าในครอบครัวหลายๆครอบครัวไม่เข้มแข็ง อ่อนแอด้านสุขภาพ ก็จะทำให้ภาพรวมของสังคมอ่อนแอไปด้วย ดังนั้นการพัฒนาด้านสุขภาพจึงรวมกันเป็นห่วงโซ่ที่ต้องพัฒนาเป็นองค์รวมเชื่อมโยงกันไป
                การพัฒนาสุขภาพส่วนบุคคลหรือของตนเองจะเป็นการพัฒนาเฉพาะด้าน เฉพาะบุคคล ซึ่งมีลักษณะแตกต่างกันไปตามวัย โดยเฉพาะการพัฒนาและดูแลอาใจใส่เลี้ยงดูจากพ่อแม่ จะเป็นรากฐานที่ดีต่อชีวิตต่อไป เช่น การได้รับภูมิคุ้มกันโรคอย่างครบถ้วนเป็นระยะ การสร้างเสริมความแข็งแรงของร่างกายโดยได้รับการกระตุ้น การรับวัคซีนป้องกันโรคหรือวัคซีนที่จำเป็นเฉพาะโรค เช่น วัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก วัคซีนป้องกันหัดเยอรมัน เมื่อได้รับการพัฒนาสุขภาพด้านร่างายมาอย่างดี พร้อมกับได้รับการเลี้ยงดูเอาใจใส่ ได้รับความรักความอบอุ่นทางจิตใจอย่างเพียงพอ จะทำให้บุคคลนั้นสุขภาพจิตดีไปด้วย
                การพัฒนาสุขภาพในวัยผู้ใหญ่ ส่วนมากจะเป็นไปในลักษณะการดูแลตนเอง เพราะผู้ใหญ่จะรู้ความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับตนเอง บอกอาการที่ผิดปกติที่เกิดขึ้นกับตนเองได้ สุขภาพที่ไม่ดีในวัยผู้ใหญ่นั้น มักเกิดจากพฤติกรรมของตนเองเป็นส่วนมาก เช่น พฤติกรรมการรับประทานอาหารไม่ตรงเวลา ไม่รับประทานอาหารบางมื้อ เลือกรับประทานอาหารเฉพาะสิ่งที่ชอบ หรือไม่รับประทานอาหารแต่รับประทานอาหารเสริม หรืออาหารสำเร็จรูปที่เป็นแคปซูลแทนเพื่อนรักษารูปร่าง ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ไม่ถูกต้อง ก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพเรื้อรัง
                การดูแลสุขภาพในวัยชราหรือผู้สูงอายุ ในวัยนี้การทำงานของอวัยวะต่างๆในร่างกายเสื่อมโทรมลงแต่ถ้าการดูแลสุขภาพดีในวัยเด็กและวัยผู้ใหญ่ การเสื่อมโทรมของอวัยวะในร่างกายก็จะเปลี่ยนแปลงไปอย่างช้าๆและไม่ค่อยเจ็บป่วย อย่างไรก็ตามการเสื่อมโทรมของร่างกายและสมองย่อมเป็นไปตามวัย การดูแลสุขภาพขอองบุคคลในช่วงนี้จึงต้องได้รับความช่วยเหลือดูแลจากคนในครอบครัว
                การพัฒนาสุขภาพของบุคคลในครอบครัว ต้องมาจากพื้นฐานการดูแลสุขภาพที่ดีตั้งแต่วัยเด็ก วัยผู้ใหญ่ และวัยชราต่อเนื่องกัน

ค่านิยมทางเพศ

บรรทัดฐานทางครอบครัวและสังคม
ค่านิยมทางเพศตามสังคมและวัฒนธรรมไทย ในอดีตมีความแตกต่างจากในปัจจุบันอย่างเห็นได้ชัด เนื่องจากในอดีตบุตรหลานจะถูกปลูกฝังโดยการอบรมเลี้ยงดูให้เคารพเชื่อฟังคำสั่งสอนของบิดามารดาอย่างเคร่งครัด วิถีชีวิตตลอดจนวิธีการดำเนินชีวิตจะต้องอยู่ในขอบเขตที่ทางครอบครัวได้วางเอาไว้ รวมทั้งปัจจัยทางสังคมและสภาพแวดล้อมก็ยังไม่เอื้ออำนวยอย่างเช่นปัจจุบัน ค่านิยมทางเพศในอดีตมีลักษณะดังนี้

ตัวอย่างค่านิยมทางเพศในอดีต

(1) ผู้หญิงต้องอยู่กับเหย้าเฝ้ากับเรือนเพียงอย่างเดียว จึงทำให้ผู้หญิงต้องถูกกดขี่ข่มเหงด้วยความไม่เสมอภาคทางเพศ
(2) ผู้ชายมักเป็นใหญ่ในบ้าน และมีอำนาจในการตัดสินใจทุกอย่าง ส่วนผู้หญิงมีหน้าที่เพียงแค่ดูแลบ้านและบุตรเท่านั้น
(3) การนัดพบกัน ในอดีตสามารถพบกันได้โดยการแนะนำจากผู้ใหญ่หรือพบกันตามวัดในเทศกาลต่างๆ ไม่มีโอกาสได้มาพบกันในสถานที่สาธารณะอย่างเช่นในปัจจุบัน
(4) ผู้หญิงต้องไม่แสดงกิริยายั่วยวน แสดงท่าทีเชื้อเชิญหรือให้โอกาสผู้ชายได้เข้ามาใกล้ชิด
(5) การถูกควบคุมจากผู้ใหญ่ในเรื่องของการเลือกคนรัก การแต่งงาน ที่เรียกว่า คลุมถุงชน โดยให้เหตุผลถึงความคู่ควร เหมาะสม เป็นสิ่งสำคัญมากกว่าจะนึกถึงความรักของระหว่างบุคคล ทั้งนี้มักจะอ้างว่าใช้บรรทัดฐานทางครอบครัวและสังคมเป็นเครื่องตัดสินใจให้แต่งงานกัน ซึ่งอาจจะด้วยสมัครใจหรือถูกบังคับก็ตาม แต่ก็ต้องยินยอมพร้อมทั้งปลูกฝังค่านิยมของเพศหญิงให้มีความรักและซื่อสัตย์ต่อสามีเพียงคนเดียว
ตัวอย่างค่านิยมทางเพศในปัจจุบัน

ปัจจุบันสภาพครอบครัวและสังคมได้เปลี่ยนแปลงไป ผู้หญิงต้องทำงานหาเลี้ยงครอบครัวเช่นเดียวกับผู้ชาย ส่วนภาระหน้าที่การดูแลบ้านและการเลี้ยงดูบุตรก็ยังคงเป็นหน้าที่ของผู้หญิงเช่นเดิม ทั้งนี้ ผู้หญิงสามารถได้รับการศึกษาในระดับสูงๆ ได้เช่นเดียวกับผู้ชาย ผู้หญิงมีสิทธิ์ที่จะสามารถแสดงความคิดเห็นและโต้แย้งในกรณีต่างๆ ได้ เนื่องจากได้รับสิทธิที่เท่าเทียมกัน ทำให้มีโอกาสมากขึ้นเกี่ยวกับเรื่องเพศ เช่น การเลือกฝ่ายชายที่จะมาเป็นคู่ครอง การขอหย่าถ้าแต่งงานไปแล้วไม่มีความสุข การเป็นผู้นำครอบครัว เป็นต้น

สภาพแวดล้อม
สภาพแวดล้อมในอดีตกับปัจจุบันแตกต่างกันมาก ในปัจจุบันมีสิ่งยั่วยุ สถานบันเทิงเริงรมย์ต่างๆ ศูนย์การค้า ปัญหาสารเสพติด และความรุนแรง ซึ่งส่งผลให้วัยรุ่นอาจใช้ชีวิตที่หลงผิด จนอาจก่อให้เกิดเป็นปัญหาอาชญากรรมทางสังคมได้ ทำให้มีคุณภาพชีวิตที่ไม่ดี ยากจน ไม่มีโอกาสศึกษาต่อ ต้องหาเลี้ยงชีพโดยไม่สุจริต เกิดความฟุ้งเฟ้อเพื่อต้องการให้ตนเองทัดเทียมกับผู้อื่น และในที่สุดก็เกิดค่านิยมทางเพศที่ผิดๆ เช่น การมีความคิดว่า การขายบริการทางเพศเป็นสิ่งที่หารายได้ให้แก่ตนเองได้อย่างรวดเร็ว เป็นต้น

สื่อเทคโนโลยี
ความก้าวหน้าและรวดเร็วของสื่อเทคโนโลยี อาจเป็นสาเหตุของการทำให้เกิดค่านิยมทางเพศที่ไม่ถูกต้อง เนื่องจากวัยรุ่นสามารถติดต่อหรือคบเพื่อนต่างเพศที่ไม่เคยรู้จักกันได้ง่าย เพียงแต่โทรศัพท์หรือใช้อินเตอร์เน็ตเป็นสื่อในการติดต่อกัน หากใช้ในทางที่ไม่เหมาะสมหรือคุยกับบุคคลที่ไม่หวังดีด้วย อาจก่อให้เกิดปัญหาการถูกล่อลวงหรือปัญหาในทางไม่ดีอื่นๆ ตามมา

วัฒนธรรมไทยให้ความสำคัญในเรื่องความถูกต้องดีงามในเรื่องเพศ ซึ่งเป็นสิ่งที่สมาชิกในสังคมไทยยึดถือปฏิบัติ รวมทั้งการอบรมสั่งสอนถ่ายทอดความเชื่อและค่านิยมสืบต่อกันมาทางสถาบันครอบครัวโดยมีพ่อแม่เป็นผู้คอยสั่งสอน อบรมชี้แนะลูกให้ยึดถือเป็นแนวปฏิบัติในการดำรงชีวิต ดังสุภาษิตสอนหญิงของสุนทรภู่ที่ว่า

จงรักนวลสงวนงามห้ามใจไว้ อย่าหลงใหลจงจำคำที่พร่ำสอน
คิดถึงหน้าบิดาและมาดร อย่ารีบร้อนเร็วนักมักไม่ดี
เมื่อสุกงอมหอมหวนจึงควรหล่น อยู่กับต้นอย่าให้พรากไปจากที่
อย่าชิงสุกก่อนห่ามไม่งามดี เมื่อบุญมีคงจะมาอย่าปรารมภ์

ระบบกล้ามเนื้อ

ระบบกล้ามเนื้อ
                ร่างกายแบ่งกล้ามเนื้อออกเป็น 3 ชนิด คือ กล้ามเนื้อยึดกระดูกหรือกล้ามเนื้อลาย (skeletal muscle or striatedmuscle) กล้ามเนื้อเรียบ (smoothmuscle) กล้ามเนื้อหัวใจ (cardiac muscleโดยที่กล้ามเนื้อลายนั้นถูกควบคุมอยู่ภายใต้อำนาจจิตใจหรือรีเฟล็กซ์ ส่วนกล้ามเนื้อเรียบและกล้ามเนื้อหัวใจทำงานนอกอำนาจจิตใจ

1. กล้ามเนื้อลายหรือกล้ามเนื้อยึดกระดูก (skeletonmuscle)


ภาพกล้ามเนื้อลาย

                เป็นกล้ามเนื้อที่เกาะติดกับโครงกระดูกหรือกล้ามเนื้อลาย เช่น กล้ามเนื้อแขน กล้ามเนื้อขา จึงทำหน้าที่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของร่างกายโดยตรง เมื่อนำเซลล์กล้ามเนื้อเหล่านี้มาศึกษาด้วย กล้องจุลทรรศน์จะมองเห็นเป็นแถบลาย เซลล์กล้ามเนื้อนี้มีลักษณะเป็นทรงกระบอกยาว แต่ละเซลล์ มีหลายนิวเคลียสอยู่ที่ขอบของเซลล์ มีลายตามขวางสีเข้มและสีจางสลับกัน ซึ่งเห็นได้ชัดเจนเมื่อย้อมด้วยสีคนที่ออกกำลังเสมอเส้นใยกล้ามเนื้อจะโตขึ้น และหนาขึ้น แต่จำนวนไม่เพิ่มขึ้นการทำงานของกล้ามเนื้อยึดกระดูกถูกควบคุมโดยระบบประสาทโซมาติก การทำงานของกล้ามเนื้อชนิดนี้ ร่างกายสามารถบังคับได้ซึ่งถือว่าอยู่ในอำนาจจิตใจ โดยกล้ามเนื้อลายมีหน้าที่เคลื่อนไหวร่างกายที่ข้อต่อต่างๆเคลื่อนไหวลูกตาช่วยในการเคี้ยวและการกลืน เคลื่อนไหวลิ้น เคลื่อนไหวใบหน้าแสดงอารมณ์ต่างๆและยังประกอบเป็นผนังอก และผนังท้องตลอดจนการควบคุมการขับถ่ายปัสสาวะและอุจจาระ






2.กล้ามเนื้อหัวใจ (cardiacmuscle)


ภาพกล้ามเนื้อหัวใจ
               
                กล้ามเนื้อหัวใจประกอบเป็นกล้ามเนื้อหัวใจเพียงแห่งเดียวอยู่นอกอำนาจจิตใจโดยควบคุมโดยระบบประสาทอัตโนมัติมีลักษณะเป็นเซลล์รูปทรงกระบอกมีลายตามขวางเป็นแถบสีทึบสลับกับสีจางเซลล์กล้ามเนื้อตอนปลายของเซลล์มีการแตกแขนง ไปประสานกับแขนงของเซลล์ใกล้เคียงเซลล์ทั้งหมดจึงหดตัวพร้อมกัน และหดตัวเป็นจังหวะตลอดชีวิต


3.กล้ามเนื้อเรียบ (smoothmuscle)

ภาพกล้ามเนื้อเรียบ

                กล้ามเนื้อเรียบเป็นกล้ามเนื้อที่พบอยู่ตามอวัยวะภายในทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของอวัยวะย่อยอาหารและอวัยวะภายใน ต่างๆ เช่นผนังกระเพาะอาหาร ผนังลำไส้ ผนังหลอดเลือด และม่านตา เป็นต้น กล้ามเนื้อเหล่านี้ ประกอบด้วยเซลล์ที่มีลักษณะยาว หัวท้ายแหลม แต่ละเซลล์มี 1 นิวเคลียส ไม่มีลายพาดขวาง การทำงานของกล้ามเนื้อเรียบถูกควบคุมโดยระบบประสาทอิสระ (Autonomie Nervous System)มีลักษณะเป็นเซลล์รูปกระสวย มีนิวเคลียสรูปไข่อยู่ตรงกลาง
เซลล์กล้ามเนื้อหัวใจ กล้ามเนื้อลายและกล้ามเนื้อเรียบที่อวัยวะต่าง ๆ 

คุณสมบัติของกล้ามเนื้อ

-มีความรู้สึกต่อสิ่งเร้า (Irritability) คือ สามารถรับ Stimuli และตอบสนองต่อ Stimuli โดยการหดตัวของ กล้ามเนื้อ เช่น กระแสประสาทที่กล้ามเนื้อเวลาที่จับโดนความร้อนหรือ กระแสไฟฟ้า เรามักมีการหนีหรือหลบเลี่ยง
-มีความสามารถที่จะหดตัวได้ (Contractelity) คือ กล้ามเนื้อสามารถเปลี่ยนรูปร่างให้สั้นหนา และแข็งได้
-มีความสามารถที่จะหย่อนตัวหรือยืดตัวได้ (Extensibility) กล้ามเนื้อสามารถ ที่จะเปลี่ยน รูปร่างให้ยาวขึ้นกว่าความยาวปกติของมันได้ เมื่อถูกดึง เช่น กระเพาะอาหาร กระเพาะ ปัสสาวะ มดลูก เป็นต้น
-มีความยืดหยุ่นคล้ายยาง (Elasticityคือ มีคุณสมบัติที่เตรียมพร้อมที่จะ กลับคืนสู่สภาพ เดิมได้ ภายหลังการ ถูกยืดออกแล้ว ซึ่งคุณสมบัตินี้ทำให้ เกิด Muscle Tone ขึ้น
-มีความสามารถที่จะดำรงคงที่อยู่ได้ (Tonus) โดยกล้ามเนื้อมีการหดตัว บ้างเล็กน้อย เพื่อเตรียมพร้อมที่จะ ทำงานอยู่เสมอ




การทำงานของกล้ามเนื้อ
                การทำงานของกล้ามเนื้อนั้นจะต้องอาศัยปัจจัยต่างๆ ได้แก่
1. แคลเซียมไอออน หากขาดแล้วจะเกิดอาการชัก
2. พลังงาน ได้จากกระบวนการสลายอาหารภายในเซลล์
3. Myoglobin ทำหน้าที่นำออกซิเจนให้กล้ามเนื้อ

                กล้ามเนื้อในส่วนต่างๆของร่างกาย
กล้ามเนื้อในร่างกายทั้งหมดมีอยู่ประมาณ 792 มัด เป็นกล้ามเนื้อชนิดที่อยู่ในอำนาจจิตใจ 696 มัด ที่ เหลืออีก 96 มัด เป็นกล้ามเนื้อที่เราบังคับได้ไม่เต็มสมบูรณ์ ซึ่งได้แก่กล้ามเนื้อ ที่ทำหน้าที่ในการหายใจ(Respiration) จาม (Sneezing) ไอ (Coughing)

ตัวอย่างกล้ามเนื้อที่หน้าสนใจ
กล้ามเนื้อที่ช่วยในการหายใจ (TheMuscles of respiration)
* Diaphragm ทำให้ช่องอกขยายโตขึ้นและช่วยดันปอดให้ลมออกมา
* External Intercostal ยกซี่โครงขึ้นทำให้ช่องอกขยาย ใหญ่ขึ้น
* Internal Intercostal ทำให้ช่องอกเล็กลง
                กล้ามเนื้อของแขนกล้ามเนื้อของแขน แบ่งออกเป็นส่วน ๆ ดังนี้
(1) กล้ามเนื้อของไหล่ ที่สำคัญได้แก่ กล้ามเนื้อ deltoid เนื้อใหญ่หนา มีรูป เป็นสามเหลี่ยมคลุมอยู่ที่ข้อไหล่ตั้งต้นจากปลายนอกของกระดูก ไหปลาร้า และกระดูกสะบัก แล้วไปยึดเกาะที่พื้นนอกตอนกลางของกระดูกแขนท่อนบน ทำหน้าที่ยกต้นแขนขึ้นมาข้างบนให้ได้ระดับกับไหล่เป็นมุมฉาก
(2) กล้ามเนื้อของต้นแขน ที่สำคัญได้แก่ - ไบเซฟส์แบรคิไอ (biceps brachii) เป็นกล้ามเนื้อที่อยู่ด้านหน้าของ ต้นแขน มีรูปคล้ายกระสวย ทำหน้าที่งอข้อศอกและหงายมือ - ไตรเซฟส์แบรคิไอ (triceps brachii)เป็นกล้ามเนื้อมัดใหญ่อยู่ด้าน หลังของต้นแขน ปลายบนแยกออกเป็น 3 หัว ช่วยทำหน้าที่เหยียดปลายแขนหรือข้อศอก
(3) กล้ามเนื้อของปลายแขน มีอยู่หลายมัด จำแนกออกเป็นด้านหน้า และ ด้านหลัง ในแต่ละด้านยังแยกเป็น 2 ชั้น คือ ชั้นตื้น และชั้นลึก ทำหน้าที่เหยียดข้อศอก เหยียดและงอมือ เหยียดนิ้วมือ กระดกข้อมือ งอข้อมือ พลิกแขนและคว่ำแขน ฯลฯ
(4) กล้ามเนื้อของมือ เป็นกล้ามเนื้อสั้น ๆ ทำหน้าที่เคลื่อนไหวนิ้วมือ
                กล้ามเนื้อของขากล้ามเนื้อของขา จำแนกออกเป็น
(1) กล้ามเนื้อตะโพก กล้ามเนื้อมัดใหญ่ที่สุดของตะโพก ได้แก่ กลูเทียส แมกซิมัส (gluteus maximusมีลักษณะหยาบและอยู่ตื้น ช่วยทำหน้าที่เหยียดและกางต้นขา นอกจากนี้ยังมีมัดเล็ก ๆ อยู่ใต้กล้ามเนื้อมัดใหญ่นี้ ช่วยกางและหมุนต้นขาเข้าข้างใน
(2) กล้ามเนื้อของต้นขา ประกอบด้วย - กล้ามเนื้อด้านหน้าของต้นขา มีหน้าที่เหยียดปลายขา - กล้ามเนื้อด้านในของต้นขา มีหน้าที่หุบต้นขา - กล้ามเนื้อด้านหลังของต้นขา มีหน้าที่งอปลายขา
(3) กล้ามเนื้อของปลายขา ประกอบด้วย - กล้ามเนื้อด้านหลังของปลายขา ทำหน้าที่งอเท้าขึ้นเหยียด นิ้วเท้าและหันเท้าออกข้างนอก - กล้ามเนื้อด้านนอกของปลายขา ช่วยทำหน้าที่เหยียดปลายเท้า เหมือนกล้ามเนื้อด้านหลังของปลายขา
(4) กล้ามเนื้อของเท้า เป็นกล้ามเนื้อสั้น ๆ เหมือนกับของมือ อยู่ที่หลังเท้า และฝ่าเท้า มีหน้าที่ช่วยยึดเท้าให้เป็นส่วนโค้งและเคลื่อนไหวนิ้วเท้า

โดยเมื่อสมองสั่งให้ร่างกายเคลื่อนไหว กล้ามเนื้อจะเกิดการหดตัวและคลายตัว ทำงานประสานเป็นคู่ ๆ พร้อมกัน แต่ตรงข้ามกัน ในขณะที่กล้ามเนื้อมัดหนึ่งหดตัว กล้ามเนื้ออีกมัดหนึ่งจะคลายตัว การทำงานของกล้ามเนื้อในลักษณะนี้ เรียกว่า Antagonisticmuscle
มัดกล้ามเนื้อไบเซพ (Biceps) อยู่ด้านบน และไตรเซพ (Triceps) อยู่ด้านล่างของแขน
ไบเซพหรือ (Flexors)คลายตัว ไตรเสพ หรือ (Extensors) หดตัว»» แขนเหยียดออก
ไบเซพหรือ (Flexors)หดตัว ไตรเสพ หรือ (Extensors) คลายตัว»» แขนงอเข้า 

ระบบผิวหนัง

มีลักษณะเป็นเนื้อเยื่อที่อยู่ชั้นนอกสุดของร่างกายปกคลุมห่อหุ้มร่างกายทั้งหมดของเราไว้ผิวหนังของผู้ใหญ่คน หนึ่งมีเนื้อที่ประมาณ 3,000 ตารางนิ้ว มีความหน
ประมาณ 1 – 4 มิลลิเมตรโดยความหนาของผิวหนังจะแตกต่างกันไปตามอวัยวะส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย และบริเวณที่ถูกเสียดสีโดยผิวหนังส่วนที่หนาที่สุด ของร่างกายคือ บริเวณฝ่ามือ และฝ่าเท้าส่วนผิวหนังส่วนที่บางที่สุดของร่างกาย คือบริเวณหนังตา และหนังหู ภายในผิวหนังนั้นมีปลายประสาทรับรู้ความรู้สึกอยู่มากมายเพื่อรับรู้การสัมผัสความเจ็บปวด และอุณหภูมิร้อนเย็นต่าง ๆ นอกจากนี้บนผิวหนังยังมีรูเล็ก ๆ ซึ่งเรียกว่า รูขุมขน ซึ่งเป็นรูเปิดของขุมขน ท่อต่อมไขมันและต่อมเหงื่อผิวหนัง สามารถยืดหยุ่นได้มาก และผิวหนังบนร่างกาย
ส่วนใหญ่สามารถเลื่อนไปเลื่อนมาได้แต่ก็มีบางส่วนที่ติดแน่นกับอวัยวะ เช่น หนังศีรษะด้านนอกของใบหูฝ่ามือ และฝ่าเท้าและตามรอยพับของข้อต่อต่าง ๆนอกจากนี้ผิวหนังบริเวณฝ่ามือและฝ่าเท้าจะมีรอยนูนอยู่เป็นจำนวนมากโดยเฉพาะปลายนิ้วมือจะมีสันนูนเรียงกันเป็น ร้อยหวาย หรือรอยก้นหอย ซึ่งรอยนี้จะต่างแตกกันออกไปในแต่ละบุคคล และบริเวณผิวหนังทีกล้ามเนื้อเกาะอยู่ จะเกิดเป็นรอยย่นได้เมื่อกล้ามเนื้อเกิดการหดตัว เช่นบริเวณใบหน้ามีกล้ามเนื้อยึดติดที่ผิวหนังมากเมื่อแสดอารมณ์โกรธ กลัว ยิ้มแย้มแจ่มใส หรือเศร้าหมองจะทำให้เกิดร่องรอยบนผิวหนังอย่างเห็นได้ชัด